เมนู

อธิบายบทว่า วุสิตวา เป็นต้น



บทว่า วุสิตวา ได้แก่ มีการอยู่จบแล้ว. บทว่า กตกรณีโย
ได้แก่ ทำกิจที่ควรทำด้วยมรรค 4 อยู่. บทว่า โอหิตภาโร ได้แก่
ปลงขันธภาระ กิเลสภาระและอภิสังขารภาระอยู่. บทว่า อนุปฺปตฺตสทตฺโถ
ความว่า อรหัตผลเรียกว่า ประโยชน์ของตน บรรลุประโยชน์ของตนนั้น.
บทว่า ปริกฺขีณภวสํโยชโน ความว่า ชื่อว่ามีสังโยชน์เครื่องผูกสัตว์ไว้ใน
ภพหมดสิ้นแล้ว เพราะสังโยชน์ที่เป็นเหตุให้ผูกสัตว์ แล้วฉุดคร่าไปในภพ
ทั้งหลายสิ้นแล้ว. บทว่า สมฺมทญฺญาวิมุตฺโต ความว่า หลุดพ้นเพราะรู้
โดยเหตุ โดยนัย โดยการณะ.
บทว่า กลฺลํ วจนาย แปลว่า ควรเพื่อจะกล่าว. บทว่า โยปสฺส
มาทิโส นโร
ความว่า แม้บุคคลใดจะพึงเป็นพระขีณาสพเช่นกับเรา บุคคล
แม้นั้นพึงเข้าจำอุโบสถเห็นปานนี้ คือ เมื่อรู้คุณของอุโบสถกรรมพึงอยู่อย่างนี้.
อีกนัยหนึ่ง บทว่า โยปสฺส มาทิโส นโร ความว่า สัตว์แม้ใดพึงเป็น
เช่นกับเรา. อธิบายว่า พึงปรารถนาเพื่อได้รับมหาสมบัติ. ในบทนี้มีอธิบาย
ดังนี้ว่า ก็บุคคลสามารถที่จะได้รับสมบัติของพระขีณาสพ ด้วยอุโบสถกรรม
เห็นปานนี้.
จบอรรถกถาราชสูตรที่ 7

8. ทุติยราชสูตร*



ว่าด้วยการกล่าวคาถาผิดฐาน และถูกฐาน



[477] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทวดา
เมื่อจะปลุกใจเหล่าเทวดาดาวดึงส์ จึงภาษิตคาถานี้ในเวลานั้นว่า
แม้ผู้ใดพึงเป็นเช่นดังข้าพเจ้า ผู้นั้น
ก็พึงถืออุโบสถประกอบด้วยองค์ 8 ในดิถี
ที่ 14 ที่ 15 และที่ 8 แห่งปักษ์ และถือ
อุโบสถปาฏิหาริยปักษ์เถิด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลคาถานั้นนั่น ท้าวสักกะจอมเทวดาขับไม่
เข้าที ไม่เป็นการขับดีแล้ว กล่าวไม่เหมาะ ไม่เป็นสุภาษิต นั่นเพราะเหตุอะไร
เพราะท้าวสักกะจอมเทวดายังไม่ปราศจากราคะ...โทสะ...โมหะ ส่วนภิกษุ
ผู้เป็นพระอรหันต์สิ้นอาสวะแล้ว สำเร็จแล้ว ทำกิจที่ควรทำแล้ว ปลงภาระ
แล้ว เสร็จประโยชน์ตนแล้ว สิ้นเครื่องร้อยรัดไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นด้วย
ความรู้ชอบแล้ว จึงควรกล่าวคาถานั่นว่า
แม้ผู้ใดพึงเป็นเช่นดังข้าพเจ้า ผู้นั้น
ก็พึงถืออุโบสถประกอบด้วยองค์ 8 ในดิถี
ที่ 14 ที่ 15 และที่ 8 แห่งปักษ์ และถือ
อุโบสถปาฏิหาริยปักษ์เถิด.

นั่นเพราะเหตุอะไร เพราะภิกษุนั้น ปราศจากราคะ...โทสะ...โมหะแล้ว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทวดา เมื่อจะ
ปลุกใจเหล่าเทวดาดาวดึงส์ จึงภาษิตคาถานี้ในเวลานั้นว่า

* สูตรที่ 8 ง่ายทั้งนั้น ข้อความบางส่วนขยายความไว้ในอรรถกถาสูตรที่ 7 แล้ว